วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สรุปสถิติที่ใช้ในการวิจัย

การวิจัยต้องใช้สถิติหลายกลุ่ม  ได้แก่
กลุ่มที่  1  สถิติที่ใช้หาคุณภาพเครื่องมือ ทั้งรายข้อ  และทั้งฉบับ  ที่เรียนมาในวิชาการประเมินผลการเรียน   หรือวัดผลประเมินผล   เช่น  กรณี
-  แบบทดสอบ     การหาคุณภาพรายข้อ  เช่น  ค่าความยากง่าย (p)  และค่าอำนาจจำแนก  (r)
               การหาคุณภาพทั้งฉบับ  ได้แก่  การหาค่าความเที่ยง  เช่น  KR-20   และการหาค่าความตรง  ใช้  ดัชนี  IOC  (ความสอดคล้อง)
-  แบบสอบถามลักษณะที่เป็นแบบประมาณค่า  การหาคุณภาพรายข้อใช่ค่าที  (T- value)   การหาค่าความเที่ยงใช้สูตร  Alpha   Coefficient (a )  ของ  Cronbach    และในการหาค่าความตรงของแบบสอบถามก็ใช้การหาดัชนี  IOC
            สำหรับเครื่องมือแบบอื่น เช่น แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต ฯลฯ  มีวิธีการหาคุณภาพของเครื่องมือเช่นกัน  ศึกษาได้จากตำราการวัดผลประเมินผลทั่วไป
            สรุปว่า   ผู้ที่จะทำวิจัยต้องมีทักษะพื้นฐานด้านการวัดผลประเมินผล  และการหาคุณภาพของเครื่องมือที่จะใช้ในการวิจัยมาก่อน (ซึ่งมีสถิติมากมายหลายตัว)  และสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณค่าสถิติได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

            กลุ่มที่  2  สถิติบรรยาย  (Descriptive  Statistics)  เช่น  ค่าเฉลี่ย  (X)  ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน    ความถี่   ร้อยละ  สถิติวัดความสัมพันธ์  เป็นสถิติพื้นฐานที่ต้องใช้กับการวิจัยเกือบทุกเรื่อง

            กลุ่มที่  3  สถิติอ้างอิง  (Inferential  Statistics) หรือสถิติอนุมาน 
สถิติอ้างอิงเป็นสถิติที่ใช้สรุปค่าสถิติไปยังค่าพารามิเตอร์  ใช้ในกรณีทำการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง โดยมากจะใช้ในการทดสอบสมมุติฐานที่นักวิจัยตั้งไว้ (Hypothesis  Testing) หรือ การทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติ  (Test  of  Significance)

หลักการเลือกสถิติให้เหมาะสม

1.    การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ   บรรยายข้อมูล (กรณีทำกับประชากรทั้งหมด ใช้สถิติบรรยาย)  หรือสรุปอ้างอิงจากกลุ่มตัวอย่างไปยังค่าประชากร  (กรณีทำการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง  ต้องใช้สถิติบรรยายและสถิติอ้างอิง)
2.            จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้มีกี่กลุ่ม
-      1  กลุ่ม
-       2  กลุ่ม
-       มากกว่า  2  กลุ่ม
3.            ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาอยู่ในระดับใด  หรือมาตราใด
-     นามบัญญัติ
-     จัดอันดับ
-      อันตรภาค
-       อัตราส่วน
4.            ตัวแปรที่ใช้มีกี่ตัว
-     1  ตัวแปร
-      2  ตัวแปร
-       มากกว่า  2  ตัวแปร
เมื่อได้พิจารณาลักษณะสำคัญของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้แล้วก็ต้องเลือกสถิติอ้างอิงให้เหมาะกับลักษณะของข้อมูล  และข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติแต่และตัว (ศึกษาได้จากตาราง) ซึ่งสถิติที่ใช้ในการอ้างอิงข้อมูลมี  2  ประเภท  คือ
สถิติแบบพาราเมตริก  (Parametric)  ใช้สำหรับข้อมูลอันตรภาค และอัตราส่วน  และแบบนอนพาราเมตริก (Nonparametric)  ใช้สำหรับข้อมูลที่อยู่ในระดับนามบัญญัติ  และจัดอันดับ

การเลือกใช้สถิติอ้างอิงข้อมูลที่ใช้กันมาก  สรุปได้ดังตาราง

 
ระดับการวัดข้อมูล
                                          สถิติที่เหมาะสม
กลุ่มตัวอย่าง  
1  กลุ่ม
กลุ่มตัวอย่าง
2  กลุ่ม
กลุ่มตัวอย่าง
มากกว่า 2  กลุ่ม
นามบัญญัติ
Binomial  test
c2 - test
Mcnemar  test
c2 - test
Cocharn  Q-test
c2 - test
จัดอันดับ
Komogorovsminov test

Runs  test
Sign  test

U - test
Friedman  two-way
Analysis of  variance
Kruskal –wallis  one –way
Analysis  of  variance
อันตรภาค
และ
อัตราส่วน
t –test
Z - test
T – test
Z – test
F - test
Analysis of  variance (ANOVA)
Analysis of  covariance (ANCOVA)
MANOVA

เช่น 
1.  สุ่มนักศึกษามา  9  คน  เพื่อทดสอบความรู้หลังจากที่อบรมไปแล้ว  พบว่านักศึกษาได้คะแนน  6, 7, 9, 10, 5, 6, 4, 7, 5   ถ้าจะทดสอบว่าค่าเฉลี่ยของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลลำปางนั้นมีค่าเท่ากับ  7  คะแนน (เกณฑ์ที่ตั้งไว้)  จริงหรือไม่   ข้อมูลลักษณะนี้ใช้   t -  test  แบบ  อิสระ (Independent) ทดสอบ   เพราะเป็นกลุ่มตัวอย่าง  1  กลุ่มขนาดเล็ก  (N < 30)  และข้อมูลเป็นคะแนนอยู่ในระดับอันตรภาค
2.  ต้องการเปรียบเทียบผลการเรียนวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ของนักศึกษาชายและหญิง  จำนวนกลุ่มละ  25  คน   ต้องใช้  t – test  แบบอิสระ (Independent)  ทดสอบ
3.   ต้องการเปรียบเทียบผลการเรียนของนักศึกษาพยาบาลจากคณะพยาบาลศาสตร์ของวิทยาลัยพยาบาลลำปางกับคณะพยาบาลศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยสุ่มตัวอย่างมากลุ่มละ  500  คน  ใช้  Z -  test  ทดสอบ
4.  ในการทดสอบผู้เข้าอบรมก่อนการอบรมและหลังการอบรม  เพื่อดูประสิทธิผลของโครงการนี้  ต้องใช้   t – test   แบบ  ไม่อิสระ  (Dependent)
5.    ต้องการเปรียบเทียบผลการแข่งขันกีฬาของนักศึกษาในแต่ละชมรม ตามขนาดจำนวน มาก ปานกลาง น้อย ใช้ ANOVA  ทดสอบ
            6. จากการทดสอบความคิดเห็นของกลุ่มคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์   รองคณบดี และนักวิชาการศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมสัมนาวิชาการพัฒนาหลักสูตรพยาบาลสู่อาเซียน ปรากฏว่า  กลุ่มคณบดี  เห็นว่า ดี  244  คน  กลุ่มรองคณบดี จำนวน  243  คน  และกลุ่มนักวิชาการศึกษาผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน  320  คน  เห็นว่า   ควรปรับปรุง  จะทำการทดสอบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้ง  3  กลุ่มมีความคิดเห็นแตกต่างกันหรือไม่  ต้องใช้    c2 -  test  เพราะข้อมูลที่วัดมาเป็นความถี่  (มาตรานามบัญญัติ)
            7.  คะแนนเกณฑ์ปกติ  (Norm)  ของแบบทดสอบวัดความรู้วิชาการพยาบาลสูติศาสตร์มีค่าเท่ากับ  60  คะแนน  คณะพยาบาลศาสตร์สังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐอ้างว่านักศึกษาของตนมีความรู้มากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน  เพื่อเป็นการทดสอบคำกล่าวอ้างดังกล่าว  ผู้วิจัยได้สุ่มนักศึกษาของคณะเพยาบาลศาสตร์นั้นมาจำนวน 40 คน  แล้วทดสอบด้วยแบบทดสอบมาตรฐานวิชาการพยาบลสูติศาสตร์ปรากฏว่า  ได้คะแนนเฉลี่ย 62  ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ  12   ข้อมูลลักษณะนี้  ใช้ Z – test  แบบกลุ่มตัวอย่างเดียวทดสอบ  เพราะเป็นการทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากรกลุ่มเดียวที่มีขนาดใหญ่  (N>30)
 



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น