วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ข้อมูลกับการวิเคราะห์ในงานวิจัย

การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection of data)

- การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนแรกของระเบียบวิธีวิจัย หรือกระบวนการทางสถิติ
- ข้อมูล (dataหมายถึง กลุ่มของข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นลักษณะของค่าของสิ่งที่สนใจศึกษา ที่บันทึกมาจากแต่ละหน่วยที่สังเกต(observation unitอาจเป็นแต่ละราย เช่น คน ทัศนคติ เหตุการณ์
- ข้อมูลที่รวบรวมอาจมีหลายตัวแปร (variablesเช่น เพศ อายุ ความสูง น้ำหนัก ระดับความคิดเห็น การเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย
  1. . ประเภทของข้อมูล
  2. . ประเภทของตัวแปร
  3. . แหล่งข้อมูล
  4. . ความหมายของประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
  5. . ทำไมต้องใช้ตัวอย่าง
  6. . วิธีการสุ่มตัวอย่าง
  7. . ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
  8. . การออกแบบสอบถามเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล
  9. . และแบบฟอร์มการลงรหัสข้อมูล


ประเภทของข้อมูล
1.แบ่งในแง่ทั่วไป
- ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative dataหมายถึง ข้อมูลที่แสดงถึงสถานภาพ คุณลักษณะ หรือคุณสมบัติ มักเกี่ยวข้องกับตัวแปรที่แสดงกลุ่ม หมวดหมู่ (categorical variablesเช่น เพศ เชื้อชาติ ศาสนา
- ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative dataหมายถึงข้อมูลที่อยู่ในรูปตัวเลข (numerical dataที่แสดงถึงปริมาณ อาจเป็นค่าไม่ต่อเนื่อง (discreteคือ ค่าจำนวนเต็มหรือจำนวนนับ เช่น จำนวนบุตร หรือ ค่าต่อเนื่อง (continuousคือ ค่าที่มีจุดทศนิยมได้เช่น ความสูง น้ำหนัก อายุ อัตราเงินเฟ้อ2.แบ่งในแง่การศึกษา
1.ข้อมูลดิบ (Raw data หรือ ungrouped dataคือ ข้อมูลที่เพิ่งได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูล ยังไม่ได้จัดแบ่งกลุ่ม แยกประเภทและไม่อยู่ในรูปตารางความถี่ เช่น อายุ 18  19  25  30  35  40  45 
2.ข้อมูลจัดกลุ่ม (Grouped dataคือ ข้อมูลดิบที่ถูกนำมาจัดกลุ่มแยกประเภทหรืออยู่ในรูปตารางแจกแจงความถี่เพื่อให้ง่ายในการศึกษาและการอธิบาย
3.ข้อมูลแบ่งตามระดับการวัด (Level of Measurement)


1.ระดับนามมาตรา (Nominal scale)

ข้อมูลที่มีมาตราวัดเป็นพวก เป็นประเภท เป็นกลุ่ม แต่ไม่สามารถจัดลำดับได้ โดยบอกได้แต่เพียงว่า พวกหนึ่งแตกต่างจากพวกหนึ่งอย่างไร ตัวอย่างตัวแปรระดับ  Nominal
Ø เพศ
Ø ศาสนา
Ø สถานภาพการสมรส
Ø อาชีพ
Ø มหาวิทยาลัย
Ø เชื้อชาติ
Ø จังหวัด

2.ข้อมูลระดับลำดับมาตรา (Ordinal scale)
เป็นการวัดที่สามารถแบ่งเป็นพวกเป็นกลุ่มและยังสามารถจัดลำดับได้ด้วย ระยะห่างแต่ละหน่วยไม่เท่ากัน เช่น
ทัศนคติ , เห็นด้วย เฉย ๆ ไม่เห็นด้วย 
รายได้ , มาก,  ปานกลาง, น้อย
ระดับการศึกษา มัธยมศึกษา ปริญญาตรี ปริญญาโท
ความสูง สูง ปานกลาง ต่ำ
น้ำหนัก มาก ปานกลาง น้อย
ระบบการให้เกรด A B C D F
สถานะทางสังคม การประกวดนางงาม ขนาดชุมชน
อันดับเพลงยอดนิยม ลำดับที่สมัคร

3.การวัดระดับช่วงมาตรา (Interval scale)
ระดับการวัดที่สูงกว่าสองมาตรา มีคุณสมบัติเพิ่ม คือมีศูนย์สมมติ (arbitary zero pointมีระยะห่างแต่ละหน่วยเท่ากันบวก ลบ คูณ หาร ได้ แต่ไม่สามารถเปรียบเทียบข้อมูลเป็นจำนวนได้ เช่น 
การวัดอุณหภูมิ หน่วยวัด เซลเซียส  ทัศนคติจากสเกลการวัด เช่น Likert 
(1 = ไม่เห็นด้วยอย่างมาก , 2 = เห็นด้วย, 3 = ไม่แน่ใจ, 4 = เห็นด้วย, 5 = เห็นด้วยอย่างยิ่ง) Gpac เช่น 4.0 3.5 2.7 2.0 0 (สมมติ)  I.Q. เช่น 110 140 70 20 0 (สมมติ)
คะแนนจากการสอบ เช่น 90 80 50 0  (สมมติ)
การวัดระดับ อัตราส่วนมาตรา (Ratio scale
Ø ระดับการวัดสูงสุด
Ø คุณสมบัติเชิงตัวเลขที่มีระยะห่างระหว่างหน่วยเท่ากัน
Ø เริ่มจากศูนย์แท้ หรือ ศูนย์สมบูรณ์ สามารถ บวก ลบ คูณ หาร 
Ø เปรียบเทียบจำนวนระหว่างสองกลุ่มได้  เช่น 
§  น้ำหนัก 20 30 ก.ก
§  ความสูง 165 179 ซ.ม.
§  ความเร็ว 60 80 ก.ม /ชั่วโมง
§  ความยาว 270 เมตร
§  อายุ 18 25 ปี
§  รายได้ จำนวนนิสิต งบประมาณ อัตราดอกเบี้ย พื้นที่

การนำเสนอข้อมูล 
คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวัน พัฒนาการคอมพิวเตอร์ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง มีขีดความสามารถสูงขึ้น คำนวณได้เร็ว และยังแสดงผลในแบบรูปภาพได้ดี ด้วยเหตุนี้จึงมีการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการใช้งานในระดับส่วนตัวมากมาย เช่น การสร้างเอกสาร สามารถจัดพิมพ์เอกสารที่มีความสวยงาม พิมพ์เอกสารที่เป็นตาราง รูปภาพ หรือการจัดรูปแบบเอกสาร เพื่อนำเสนอได้ดี ยังมีในรูปแบบตารางคำนวณที่เรียกว่า สเปรดชีต หรือ อิเล็กทรอนิกส์สเปรดชีต ตารางคำนวณมีขีดความสามารถเชิงคำนวณได้สูง คำนวณตามฟังก์ชันต่างๆ ผู้ใช้ใช้งานได้ง่ายโดยไม่ต้องเขียนโปรแกรม สามารถสร้างรูปกราฟแบบต่างๆ และนำเสนอผลจากตัวเลขในรูปแบบที่เป็นรูปกราฟเพื่อความเข้าใจที่ดีได้ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมกราฟิกส์ที่ใช้ในการนำเสนอผลงานโดยเฉพาะ เช่น โปรแกรมเพาเวอร์พอยต์ โปรแกรมนำเสนอผลงานสามารถเขียนกราฟและภาพกราฟิกส์ที่สวยงาม เพื่อใช้ในการแสดงผลได้ดี มีผู้นิยมใช้มากเพราะใช้งานได้ง่าย มีคุณภาพ ประกอบกับภาพแสดงผลในปัจจุบันสามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องฉายภาพ เพื่อนำเสนอในห้องประชุม หรือนำเสนอต่อบุคคลจำนวนมากได้ ในการนำเสนอผลงานจึงต้องมีหลักการ และการเลือกรูปภาพ ให้เหมาะสม เรามีรูปแบบของกราฟหลากหลายรูปแบบ

ประโยชน์ของสถิติ
ประโยชน์ของข้อมูลสถิติ ข้อมูลสถิติมีความสำคัญและจำเป็นต่อการบริหารงานและพัฒนาประเทศ เป็นเครื่องมือ สำหรับ ผู้บริหาร ใช้เป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจในการจัดทำแผนงาน กำหนดนโยบายหรือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ดังนั้นประโยชน์ของข้อมูลสามารถจำแนกตามการใช้ที่สำคัญๆ ได้ดังนี้  
§ ข้อมูลสถิติที่ใช้ในการบริหาร เป็นข้อมูลสถิติที่หน่วยงานต่างๆ ได้ผลิตขึ้นมา เพื่อใช้ในการบริหารและควบคุมการดำเนินงานประจำในสายงานต่างๆ หรือตรวจสอบผลการบริหารงาน เช่น ข้อมูลสถิติจากระบบทะเบียนราษฎร สามารถนำไปใช้ในการกำหนดเขตการเลือกตั้ง การเกณฑ์ทหาร หรือการเข้าเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ เป็นต้น
§ ข้อมูลสถิติที่ใช้ในการพัฒนา ข้อมูลสถิติมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศ ประโยชน์ของข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนานั้น สามารถแยกพิจารณาได้ 3 กรณี คือ 
1) การใช้ข้อมูลสถิติ สำหรับการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยอาศัย ข้อมูลสถิติเป็นพื้นฐานในการจัดทำแผน การกำหนดเป้าหมาย และทิศทางของการพัฒนา เช่น การกำหนด หรือ การวางนโยบายเกี่ยวกับการศึกษาภาคบังคับ การวางนโยบายเกี่ยวกับงบประมาณแผ่นดิน การวางนโยบายเกี่ยวกับ การค้าทั้งในประเทศและนอกประเทศ อัตราค่าจ้างแรงงาน การเก็บภาษีอากร เป็นต้น ในช่วงภาวะวิกฤติเศรษฐกิจเช่นในปัจจุบันนี้ ข้อมูลสถิติเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการกำหนดนโยบาย และแก้ไขปัญหาต่างๆ ของรัฐบาล โดยเฉพาะใช้เป็นเครื่องเตือนภัยล่วงหน้า เพื่อรัฐบาลจะได้กำหนดนโยบายหรือแผนงานต่างๆ ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ
2) การใช้ข้อมูลสถิติ สำหรับการติดตามความก้าวหน้าของแผนพัฒนา หรือ โครงการต่างๆ ซึ่งรัฐบาลและหน่วยงานราชการได้จัดทำโครงการพัฒนาเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นแผนระยะสั้นและระยะยาว ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีข้อมูลเพื่อทำการตรวจสอบและติดตามความก้าวหน้าของโครงการดังกล่าวว่า ได้ผลมากน้อยเพียงใด เพื่อผู้บริหาร สามารถนำไปแก้ไขปรับปรุงแผนการดำเนินงานได้อย่างถูกต้องและทันเวลา หรือเพื่อนำผลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ สำหรับการวางแผนโครงการอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายๆ กัน วัตถุประสงค์ที่สำคัญของการติดตามผลโครงการคือ
Ø เพื่อรายงานความก้าวหน้า ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน 
Ø เพื่อชี้ประเด็นของปัญหา ให้ข้อเสนอแนะและแนวทางในการแก้ไขปัญหา
Ø เพื่อนำข้อมูลไปปรับปรุงแผนการดำเนินงานของโครงการในระยะต่อไป หรือเพื่อเป็น แนวทางใน การจัดทำแผนปฏิบัติงานของโครงการอื่นๆ
Ø เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานของโครงการหรือคณะทำงานมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน

3) การใช้ข้อมูลสถิติ 
สำหรับการประเมินผลแผนพัฒนาหรือโครงการพัฒนา เมื่อการดำเนินงานตามแผนงาน / โครงการพัฒนาได้เสร็จสิ้นลงแล้ว จำเป็นต้องมีการประเมินผลหรือวัดผลการ พัฒนาว่าได้ผลตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้เพียงไร จึงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลสถิติเป็นเครื่องมือที่ชี้บอก ความสำเร็จหรือประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการพัฒนา ตัวอย่างการใช้ข้อมูลสถิติสำหรับการพัฒนาในด้านต่างๆ ที่สำคัญในภาครัฐ
o  ด้านการศึกษา ในการกำหนดนโยบายและการวางแผนพัฒนาการศึกษา
และการกระจายโอกาสทางการศึกษาของประชาชนในระดับการศึกษาต่างๆ นั้น ข้อมูลสำคัญที่ต้องการใช้ ได้แก่ ประชากรก่อนวัยเรียนและวัยเรียน บุคลากรทางการศึกษา ปริมาณการผลิตและพัฒนาครูในแต่ละสาขา จำนวนสถานศึกษา ค่าใช้จ่ายในแต่ละระดับการศึกษา เป็นต้น
o  ด้านการเกษตร ในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาทางการเกษตร
ของประเทศ ข้อมูล ที่ต้องการใช้ ได้แก่ ครัวเรือนที่ทำการเกษตร เนื้อที่การเพาะปลูก ผลิตผลทาง การเกษตร จำนวนปศุสัตว์ ราคาสินค้าเกษตรกรรม เครื่องมือเครื่องใช้ทางการเกษตร ภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนเกษตร การประมง การป่าไม้ ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งน้ำ และ การชลประทาน เป็นต้น 
o  ด้านอุตสาหกรรม ใช้จัดทำแผนงาน หรือกำหนดนโยบายและส่งเสริม
อุตสาหกรรม ส่งเสริม - การลงทุนและพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านอุตสาหกรรม ซึ่งได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณการผลิตทางอุตสาหกรรม ต้นทุนการผลิต จำนวน แรงงาน ค่าใช้จ่ายของสถานประกอบการ มูลค่าเพิ่ม ฯลฯ 
o  ด้านรายได้ - รายจ่ายของครัวเรือน เป็นข้อมูลที่มีความสำคัญที่ใช้วัดความ
เจริญ เติบโตทางเศรษฐกิจ การครองชีพและการกระจายรายได้ของประชากร ซึ่งจะเป็นเครื่องชี้วัดที่สำคัญ ของผลการพัฒนาประเทศ ข้อมูลสถิติที่สำคัญ ได้แก่ รายได้รายจ่ายของครัวเรือน ภาวะหนี้สิน สภาพความเป็นอยู่ ที่อยู่อาศัยของครัวเรือน เป็นต้น
o  ด้านสาธารณสุข การจัดทำแผนพัฒนาด้านสาธารณสุข การพัฒนางาน
วิชาการทางการแพทย์ / สาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดี จำเป็นต้องใช้สถิติเกี่ยวกับการเกิด การตาย การเจ็บป่วยของประชาชน การรักษาพยาบาล ความเป็นอยู่และสภาพทางสังคมของประชากร การอนามัยและสุขาภิบาล พฤติกรรมด้านการบริโภค การสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นต้น 
o  ด้านคมนาคมและขนส่ง การปรับปรุงบริการและพัฒนาทางการคมนาคม
ขนส่ง และการสื่อสารของประเทศ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านต่างๆ และกระจายความเจริญไป สู่ภูมิภาค ข้อมูลที่ใช้ ได้แก่ รายรับ - รายจ่ายของการประกอบการขนส่ง ปริมาณผู้ใช้บริการในแต่ละเส้นทาง ปริมาณการขนส่ง ทางถนน ทางน้ำ และทางอากาศ รายละเอียดเส้นทาง คมนาคม ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดสรรความถี่วิทยุ จำนวนครัวเรือนที่มีเครื่องรับวิทยุ - โทรทัศน์ เป็นต้น นอกจากนี้ ข้อมูลสถิติยังเป็นที่ต้องการและใช้กันอย่างกว้างขวาง และแพร่หลายในวงการธุรกิจ เอกชน โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลาง และขนาดใหญ่ที่ต้องอาศัยข้อมูลในการวางแผนด้านต่าง ๆ อย่างรอบคอบ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ ความก้าวหน้าได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนด้านการผลิต การตลาด การโฆษณา การกำหนดราคาสินค้าหรือบริการให้เหมาะสมกับกำลังซื้อ และสภาวะการแข่งขัน จะต้องอาศัยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลสถิติต่างๆ ที่จำเป็น และเป็นประโยชน์ในการวางแผน และการตัดสินใจในด้านต่างๆ เพื่อลดอัตราการเสี่ยงที่จะต้องประสบความล้มเหลวในการดำเนินการ และเพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจได้เป็นผลสำเร็จ

 ........................................................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น